11/15/2552

การเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ

การเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ
โดยปกติพื้นที่ทางตอนใต้ของโลกซึ่งอยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับเส้นละติจูด 30 องศาใต้ จะได้รับอิทธิพลจากลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ พัดผ่านพื้นที่ชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ กระแสลมนี้พัดเอากระแสน้ำเย็นจากทางตอนใต้ของทวีปตามแนวชายฝั่งมายัง พื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรติดกับประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสน้ำนี้มีอุณหภูมิที่ผิวน้ำต่ำกว่ากระแสน้ำที่ไกลจากฝั่ง อิทธิพลจาก ลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้กับการหมุนตัวของโลก ทำให้เกิดกระแสน้ำเย็นไหลไปทางซีกตะวันตกเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก โดยผ่านทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียและประเทศอินโดนีเซีย กระแสน้ำเย็นนี้จะรวมตัวกับกระแสน้ำอุ่นบริเวณตอนกลาง และตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศขึ้นในบางปีลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้อ่อนตัว หรือพัดกลับทาง ทำให้กระแสน้ำเย็นไหลไปไม่ถึงแนวชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้บริเวณเขตศูนย์สูตร น้ำบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู เอกวาดอร์ และตอนเหนือของประเทศชิลีมีความอุ่นกว่าปกติ กระแสน้ำอุ่นนี้อาจเกิดตลอดแนวกว้าง ของมหาสมุทรแปซิฟิกจากประเทศอินโดนีเซียถึงทวีปอเมริกากลาง เหตุการณ์นี้มีการบันทึกเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2110 โดยชาวประมงเปรู ซึ่งเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ ปรากฏการณ์เอลนิโญ ” ในศตวรรษที่ 20 ปรากฏการณ์เอลนิโญ ได้เกิดขึ้น 23 ครั้ง มีช่วงเวลาห่างกันระหว่าง2-10 ปี โดยมีความรุนแรงต่าง ๆ กัน ในช่วงปี พ.ศ. 2540-2541 มีความรุนแรงมากกว่าปกติจนได้ชื่อว่าเป็น มารดาของวิกฤติการณ์เอลนิโญทั้งปวง

คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน

คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFsC) เป็นก๊าซที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ในการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น ใช้ในเครื่องทำความเย็นชนิดต่าง ๆ เป็นก๊าซขับดันในกระป๋องสเปรย์ และเป็นสารผสมทำให้เกิดฟองในการผลิตโฟม เป็นต้น ซีเอฟซี มีผลกระทบรุนแรงต่อบรรยากาศ ทั้งในด้านทำให้โลกร้อนขึ้น ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก และทำลายบรรยากาศโลกจนเกิดรูรั่วในชั้นโอโซน

11/10/2552

ก๊าซมีเทน (CH4)

ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากของเสียจากสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย การทำนาที่ลุ่มน้ำท่วมขัง การเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินก๊าซธรรมชาติ และการทำเหมืองถ่านหินก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากการใช้ปุ๋ยไนเตรดในไร่นา การขยายพื้นที่เพาะปลูก การเผาไหม้ เผาหญ้า มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย และเชื้อเพลิงถ่านหินจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซชนิดที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมในบรรยากาศของโลกมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ เป็นตัวการสำคัญที่สุดของปรากฎการณ์เรือนกระจกที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า การตัดไม้ทำลายป่า